แผ่นรองรับแรง
แผ่นรองรับแรงสามารถวัดแรงกระทบต่อพื้นในการเคลื่อนที่แบบทะยานไปข้างหน้า เช่น การเดินหรือการวิ่งได้
ในอดีตที่ผ่านมา หากใช้แผ่นรองรับแรงในการวัดแรงกระทบต่อพื้นระหว่างการวิ่ง ข้อมูลจะถูกรวบรวมโดยใช้แผ่นรองรับแรงขนาดประมาณ 1 ถึง 7 เมตร และมีเก็บชุดข้อมูลการวิ่งที่แตกต่างกันในขณะที่เปลี่ยนเส้นเริ่มต้น ความจำเป็นสำหรับนักกีฬาที่ต้องใส่ใจต่อการย่ำเท้าบนแผ่นรองรับแรงในบางครั้งทำให้พวกเขาไม่สามารถวิ่งอย่างเต็มที่ ที่ศูนย์วิจัยสมรรถภาพทางกีฬา เราสามารถวัดแรงย่ำได้ในระยะทางถึง 50 เมตรในการวิ่งเพียงครั้งเดียว ซึ่งช่วยให้นักวิ่งสามารถวิ่งในลักษณะเดียวกันกับการแข่งขันจริงได้



ข้อมูลจากแผ่นรองรับแรง
ข้อมูลที่รวบรวมจากแผ่นรองรับแรงสามารถที่จะตรวจสอบได้ตามเวลาจริงและสามารถวัดแรงกระทบต่อพื้นในระหว่างการวิ่ง (เช่น ทิศทางในแนวตั้ง ทิศทางการเคลื่อนไหว และทิศทางในแนวนอน) รวมถึงแรงแห่งการเคลื่อนที่และจุดที่ฝ่าเท้าสัมผัสกับพื้นในการย่ำแต่ละครั้งสามารถที่จะกำหนดได้
